วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน echo

ภาษา PHP มีฟังก์ชันมาตรฐานในการแสดงค่า หรือข้อความหลัก ๆ อยู่ 2 ตัวคือ echo() และ print() ความเหมือนกันก็คือเป็นคำสั่งที่ใช้แสดงผลลัพธ์จากโปรแกรมออกมา  ส่วนข้อแตกต่างนั้นมีนิดเดียวตรงที่ ฟังก์ชัน print() จะใช้ในการสร้างข้อความให้กับ Text File ได้ด้วย เพราะฉะนั้นหากต้องการสร้าง Text File ด้วย Code ภาษา PHP ท่านต้องใช้ print()  ส่วนการแสดงผลออกทางหน้าเว็บจะใช้ echo() หรือ print() ก็ได้ ไม่แตกต่างอะไร

คำสั่ง echo()
       หน้าที่

       เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงผลออกทางหน้าเว็บ

       รูปแบบคำสั่ง

       แบบที่ 1
               echo"ข้อความที่ต้องการแสดง";
       แบบที่ 2
               echo("ข้อความที่ต้องการแสดง");
       ตัวอย่าง
              
               <?php
               echo"Hello<br>";
               echo("sunday");
               ?>

       ผลลัพธ์    
Hello
sunday

       จะเห็นว่าเราสามารถใช้ได้หลายรูปแบบ ก็เลือกใช้เอง นอกจากกนี้เรายังสามารถนำ tag  HTML มาใส่ในคำสั่ง PHP ได้ด้วย จากตัวอย่าง จะเห็นว่ามี tag <br> อยู่ด้วย ข้อสังเกตุในการนำ tag หรือคำสั่งของภาษา HTML มาใช้ร่วมกับ ภาษา PHP คือ จะต้องนำคำสั่งของ HTML มาใส่ไว้ในคำสั่ง echo()

       

การหยุดประมวลผลภายในฟังก์ชัน

คีย์เวิร์ด return หยุดการประมวลผลฟังก์ชัน ฟังก์ชันสิ้นสุดได้เพราะประโยคคำสั่งทั้งหมดได้รับการประมวลผล หรือ ใช้คีย์เวิร์ด return การประมวลผลกลับไปยังประโยคคำสั่งต่อจากการเรียกฟังก์ชัน

<?php

function division($x, $y)
{

if ($y == 0 || !isset($y))
{

echo " ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า" ;
return;

}

$result = $x / $y;
echo $result;

}
?>

ถ้าประโยคคำสั่ง return ได้รับการประมวลผล บรรทัดคำสั่งต่อไปในฟังก์ชันจะถูกข้ามไป และกลับไปยังผู้เรียกฟังก์ชันนี้ ในฟังก์ชันนี้ ถ้า y เป็น 0 จะหยุดการประมวลผล ถ้า y ไม่เท่ากับ 0 จะคำนวณผลหาร

สมมติป้อนค่าเป็น
x = 4, y = 0
x = 4
x = 4, y = 2

ผลลัพธ์ของคำสั่ง คือ
x = 4, y = 0 ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า

x = 4, y = 2 ผลลัพธ์ 2


การกำหนดฟังก์ชันและเรียกฟังก์ชัน

การประกาศฟังก์ชันเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ด function กำหนดชื่อฟังก์ชัน พารามิเตอร์ที่ต้องการ และเก็บคำสั่งที่จะประมวลผลแต่ละครั้งเมื่อเรียกฟังก์ชันนี้
<?php
function function_name(parameter1,…)
{
ชุดคำสั่ง …
}
?>
ชุดคำสั่งต้องเริ่มต้นและสิ้นสุดในวงเล็บปีกกา ({ }) ตัวอย่างฟังก์ชัน my_function
<?php
function my_function()
{
$mystring =<<<BODYSTRING
my function ได้รับการเรียก
BODYSTRING;
echo $mystring;
}
?>
การประกาศฟังก์ชันนี้ เริ่มต้นด้วย function ดังนั้นผู้อ่านและตัวกระจาย PHP ทราบว่าต่อไปเป็นฟังก์ชันกำหนดเอง ชื่อฟังก์ชันคือ my_function การเรียกฟังก์ชันนี้ใช้ประโยคคำสั่งนี้
my_function ();
การเรียกฟังก์ชันนี้จะให้ผลลัพธ์เป็นข้อความ "my function ได้รับการเรียก " บน browser
การตั้งชื่อฟังก์ชัน
สิ่งสำคัญมากในการพิจารณาเมื่อตั้งชื่อฟังก์ชันคือชื่อต้องสั้นแต่มีความหมาย ถ้าฟังก์ชันสร้างส่วนตัวของเพจควรตั้งชื่อเป็น pageheader () หรือ page_header ()
ข้อจำกัดในการตั้งชื่อคือ
·                  ฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกับฟังก์ชันที่มีอยู่
·                  ชื่อฟังก์ชันสามารถมีได้เพียงตัวอักษรตัวเลข และ underscore
·                  ชื่อฟังก์ชันไม่สามารถเริ่มต้นด้วยตัวเลข
หลายภาษายอมให้ใช้ชื่อฟังก์ชันได้อีก ส่วนการทำงานนี้เรียกว่า function overload อย่างไรก็ตาม PHP ไม่สนับสนุน function overload ดังนั้นฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกันกับฟังก์ชันภายใน หรือฟังก์ชันกำหนดเองที่มีอยู่
หมายเหตุ ถึงแม้ว่าทุกสคริปต์ PHP รู้จักฟังก์ชันภายในทั้งหมด ฟังก์ชันกำหนดเองอยู่เฉพาะในสคริปต์ที่ประกาศสิ่งนี้หมายความว่า ชื่อฟังก์ชันสามารถใช้ในคนละไฟล์แต่อาจจะไปสู่ความสับสน และควรหลีกเลียง
ชื่อฟังก์ชันต่อไปนี้ถูกต้อง
name ()
name2 ()
name_three ()
_namefour ()
ชื่อไม่ถูกต้อง
5name ()
Name-six ()
fopen ()
การเรียกฟังก์ชันไม่มีผลจากชนิดตัวพิมพ์ ดังนั้นการเรียก function_name (), Function_Name() หรือ FUNCTION_NAME() สามารถทำได้และมีผลลัพธ์เหมือนกัน แต่แบบแผนการกำหนดชื่อฟังก์ชันใน PHP ให้ใช้ตัวพิมพ์เล็ก


ชื่อฟังก์ชันแตกต่างจากชื่อตัวแปร โดยชื่อตัวแปรเป็นชนิดตัวพิมพ์มีผล ดังนั้น $Name และ $name เป็น 2 ตัวแปร แต่ Name () และ name () เป็นฟังก์ชันเดียวกัน
การหยุดประมวลผลภายในฟังก์ชัน
คีย์เวิร์ด return หยุดการประมวลผลฟังก์ชัน ฟังก์ชันสิ้นสุดได้เพราะประโยคคำสั่งทั้งหมดได้รับการประมวลผล หรือ ใช้คีย์เวิร์ด return การประมวลผลกลับไปยังประโยคคำสั่งต่อจากการเรียกฟังก์ชัน
<?php
function division($x, $y)
{
if ($y == 0 || !isset($y))
{
echo " ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า" ;
return;
}
$result = $x / $y;
echo $result;
}
?>
ถ้าประโยคคำสั่ง return ได้รับการประมวลผล บรรทัดคำสั่งต่อไปในฟังก์ชันจะถูกข้ามไป และกลับไปยังผู้เรียกฟังก์ชันนี้ ในฟังก์ชันนี้ ถ้า y เป็น 0 จะหยุดการประมวลผล ถ้า y ไม่เท่ากับ 0 จะคำนวณผลหาร
สมมติป้อนค่าเป็น
x = 4, y = 0
x = 4
x = 4, y = 2
ผลลัพธ์ของคำสั่ง คือ
x = 4, y = 0 ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = 2 ผลลัพธ์ 2
การเรียกฟังก์ชัน
เมื่อฟังก์ชันได้รับการประกาศหรือสร้างขึ้นแล้ว การเรียกฟังก์ชันสามารถเรียกมาจากที่ใดๆ ภายในสคริปต์ หรือ จากไฟล์ที่มีการรวมด้วยประโยคคำสั่ง include() หรือ require()
ตัวอย่าง ฟังก์ชัน show_message() เก็บอยู่ในไฟล์ fn_ 03 _keeper.php ส่วนผู้เรียกอยู่ในสคริปต์ fn_ 03 _caller.php
<?php
include("fn_ 03 _keeper.php");
show_message();
?>


ฟังก์ชันในPHP

    ฟังก์ชันในโปรแกรมส่วนใหญ่ได้รับการเรียกคำสั่งเพื่อทำงานอย่างเดียวสิ่งนี้ทำให้คำสั่งอ่านได้ง่ายและยอมให้ใช้คำสั่งใหม่แต่ละครั้งเมื่อต้องการทำงานเดียวกัน
    ฟังก์ชันเป็นโมดูลเก็บคำสั่งที่กำหนดการเรียกอินเตอร์เฟซ ทำงานเดียวกัน และตัวเลือกส่งออกค่าจากการเรียกฟังก์ชัน คำสั่งต่อไปเป็นการเรียกฟังก์ชันอย่างง่าย

 my_function ();
     คำสั่งเรียกฟังก์ชันชื่อ my_function ที่ไม่ต้องการพารามิเตอร์ และไม่สนใจค่าที่อาจจะส่งออกโดยฟังก์ชันนี้

     ฟังก์ชันจำนวนมากได้รับการเรียกด้วยวิธีนี้ เช่น ฟังก์ชัน phpinfo ()สำหรับแสดงเวอร์ชันติดตั้งของ PHP สารสนเทศเกี่ยวกับ PHP การตั้งค่าแม่ข่ายเว็บ ค่าต่างๆ ของ PHP และตัวแปร ฟังก์ชันนี้ไม่ใช้พารามิเตอร์และโดยทั่วไปไม่สนใจค่าส่งออก ดังนั้นการเรียก phpinfo () จะประกอบขึ้นดังนี้   

phpinfo ();

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ชนิดของฟิวส์


   ฟิวส์มีหลายขนาดและมีรูปแบบต่างๆกันขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ โดยใช้กันทั่วไปมีดังนี้
  • ฟิวส์เส้น ใช้ในวงจรไฟฟ้าทั่วไปทำด้วยโลหะผสมเป็นเส้นกลมหรือเส้นแบนเล็กมีจุดหลอมเหลวต่ำ ดัดเป็นรูปต่างๆได้ง่าย ฟิวส์ประเภทนี้
    จะใช้กับสะพานไฟตามอาคารบ้านเรือน
     2. ปลั๊กฟิวส์(Plug fuse )
     ฟิวส์ชนิดนี้จะบรรจุอยู่ในกระบอกที่ทำด้วยกระเบื้องกลวงออกเป็นสองแบบด้วยกัน คือ
          แบบที่ 1 แบบที่ขาดทันทีเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินขนาด แบบนี้ใช้ร่วมกับสะพานไฟตามบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป เส้นฟิวส์ในกระบอกกระเบื้องจะมีทรายบรรจุอยู่โดยรอบลีหลายขนาด 10,16,20,25,100 แอมแปร์ เป็นต้น เมื่อฟิวส์ขาด แผ่นโลหะเล็กๆด้านบนจะหลุด
กระเด็นออกมา
          แบบที่ 2 เรียกว่าปลั๊กฟิวส์แบบขาดช้า หมายความว่าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าเกินขนาดจะไม่ขาดทันทีปลั๊กฟิวส์แบบนี้เหมาะสำหรับการใช้ป้องกันวงจรมอเตอร์มากกว่าวงจรแสงสว่างธรรมดา
    3. คาร์ดทริดจ์ฟิวส์ (Cartride fuse ) ฟิวส์ชนิดนี้จะใช้ร่วมกับเซฟตี้สวิตซ์ ( Safty switch )ลักษณะฟิวส์นี้หลายแบบ ได้แก่
          1. แบบเฟร์รูล (Ferrule type ) เป็นแบบที่ใช้อยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องขยายเสียง เป็นต้น เป็นฟิวส์ที่ทำด้วยโลหะเส้นเล็กๆ บรรจุอยู่ในหลอดแก้วที่มีขนาดตั้งแต่ 1-6 แอมแปร์
          2. แบบใบมีด (knife blade type ) ทำด้วยโลหะผสม ปลายทั้งสอง ข้างมีตะขอเกี่ยวกับทองแดงมีขนาดตั้งแต่ 70-600 แอมแปร์
     ในปัจจุบันมีฟิวส์อัตโนมัติที่มีสวิตซ์ตัดวงจรไฟฟ้าในบ้าน เมื่อปริมาณกระแสไฟฟ้าผ่านมากเกินตามกำหนด หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจร เมื่อทำการแก้ไขการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรดังเดิมหรือไม่ใช้ไฟฟ้าเกินกำหนดแล้ว ก็สามารถเปิดสวิตซ์ให้กระแสไฟฟ้าเข้าไปในวงจรดังเดิม โดยไม่ต้อง
เปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ฟิวส์อัตโนมัติที่ควรรู้จัก ได้แก่ เซอร์กิตเบรคเกอร์ ( Circuit bleaker ) เป็นฟิวส์อัตโนมัติที่นิยมใช้ต่อกับสายใหญ่ที่เข้ากับ หรือต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้กระแสไฟฟ้ามาก ๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ มอเตอร์ เป็นต้น ฟิวส์ชนิดนี้จะทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินกำหนดหรือมีไฟลัดวงจรเกิดขึ้น

      หลักการความร้อน ฟิวส์อัตโนมัติแบบนี้ประกอบด้วยโลหะต่างชนิดกัน 2 ชนิด เรียกว่า หน้าสัมผัส หรือคอนแทค (Contact ) สัมผัสติดกัน เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านคอนแทคมากเกินไปจะเกิดความร้อนขึ้นจนทำให้โลหะทั้งสองขยายไม่เท่ากัน จึงเกิดการบิดงอแยกออกจากกันได้ ทำให้วงจรเปิด และถ้าแก้ไขเกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือไม่ใช้ไฟฟ้าเกินกำหนดแล้ว ก็กดสวิตซ์เพื่อใช้คอนแทคสัมผัสการตามเดิม ทำให้ใช้งานได้ตามปกติ
      หลักการแม่เหล็กไฟฟ้า ฟิวส์อัตโนมัติแบบนี้จะมีสลักเหล็กอยู่ในท่อด้านขวาซึ่งอยู่ใน สนามแม่เหล็กและวงจรในลักษณะนี้เป็นช่วงวงจรปิด
เมื่อมีกระแสไฟฟ้ามากเกินไป สนามแม่เหล็กจะขดลวดแม่เหล็กพันรอบท่อจะดูดสลักเหล็กให้เลื่อนไปทางซ้ายจนถึงด้านซ้ายสุดอำนาจแม่เหล็กจะส่งผ่านสลักไป
ตามแกนเหล็กดูดคายเหล็กด้านบนลงมาทำให้วงจรเปิด
      เซฟทีคัต ( Safety -cut ) ลักษณะคล้ายสวิตซ์ใหญ่ที่ผลิตทั่วไป แต่มีประสิทธิภาพในการทำงานต่างกับฟิวส์อัตโนมัติ คือ ตัดกระแสไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
ทันทีที่เกิดอันตราย เช่น เกิดไฟฟ้ารั่วหรือกรณีที่เด็กใช้นิ้วแหย่ปลั๊กไฟ
     เซฟทีคัต จะตัดวงจรไฟฟ้าโดยอัตโนมัติทันทีเมื่อเกิดกรณีดังต่อไปนี้
           1. กระแสไฟฟ้าลัดวงจร
           2. ไฟฟ้ารั่วลงดิน ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตและสิ้นเปลืองค่ากระแสไฟฟ้า
           3. การใช้กระแสไฟฟ้าเกินปริมารที่กำหนด เช่น เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมๆกันหลายๆเครื่อง
           4. เมื่อมีไฟฟ้าดูดสิ่งมีชีวิต เช่นเด็กแหย่นิ้วเลยที่ปลั๊กไฟ เซฟทีคัตจะตัดไฟภายใน 0.30 วินาที (โดยปกติคนธรรมดาที่ร่างกายแข็งแรงจะเสียชีวิตเมื่อถูกไฟดูดเป็นเวลา 0.5 วินาที)

ความหมายของฟิวส์



          ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันโดยทำหน้าที่เหมือนตัวนำตัวหนึ่งในวงจรไฟฟ้า เมื่อเกิดกระแสเกินพิกัด (Overload Current) หรือกระแสลัดวงจร (Short Circuit Current) มีค่ามากกว่ากระแสที่ฟิวส์ทนได้ (Fuse’s Current Rating) จะทำให้ฟิวส์ขาด (Blown Fuse) ทำให้วงจรขาดและกระแสไม่ไหลอีกต่อไป เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์และผู้ใช้อุปกรณ์

          ปกติแล้วกระแสเกินพิกัด (Overload Current) เกิดขึ้นจากการดึงกระแสที่มากเกินจากอุปกรณ์ปลายทาง ส่วนกระแสลัดวงจร (Short Circuit Current) เกิดจากการที่กระแสเคลื่อนที่ผ่านทางลัดที่อาจจะเกิดจากการแตะกันของสายไฟหรือมีตัวนำไฟฟ้าเชื่อมต่อการลัดวงจร ซึ่งสามารถมีค่ามากกว่าพันเท่าของกระแสต่อเนื่องที่ฟิวส์ทนได้ 

          โดยปกติ ฟิวส์จะเป็นอุปกรณ์ที่อ่อนแอที่สุดในวงจร โดยจะขาดและตัดวงจรก่อนที่อุปกรณ์อื่นๆ เช่น หลอดไฟ สายไฟ หรือหม้อแปรง จะไหม้หรือระเบิด